คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2539

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6660

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6660/2539

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 92 พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี ม. 4

ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ50ปีพ.ศ.2539ใช้บังคับมาตรา4แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่9มิถุนายนพ.ศ.2539และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับโดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆเมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยพ้นโทษในความผิดฐานลักทรัพย์ไปก่อนวันที่9มิถุนายน2539ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับจำเลยจึงได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติดังกล่าวดังกล่าวซึ่งถือว่าจำเลยไม่เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นมาก่อนจึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6659

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6659/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 150, 193/30, 222, 1373 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55, 225

คดีก่อนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ยึดที่ดินทั้ง 83 แปลงที่บริษัท ศ.และส. ผู้ล้มละลายโอนให้โจทก์ไว้และอยู่ในระหว่างการยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการโอนการที่จะวินิจฉัยว่าการโอนที่ดินดังกล่าวเป็นโมฆะหรือไม่และจะเพิกถอนการโอนได้หรือไม่ เพียงใด เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีดังกล่าวเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าต่อมาในภายหลัง ส.และบริษัทศ. ได้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว จึงไม่เป็นประเด็นที่จะวินิจฉัยถึงในคดีนี้การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การโอนที่ดินดังกล่าวเป็นโมฆะจึงไม่ชอบ ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ข้อ 3 มีข้อความระบุชัดแจ้งว่าทั้งผู้จะซื้อและผู้จะขายมีความประสงค์จะจัดการให้คดีทั้งหมดสิ้นสุดลงและจะจัดการให้ผู้ซื้อที่ดินจากผู้ขายคนเดิมได้รับที่ดินไปตามสัญญาซื้อขาย ผู้จะซื้อจึงรับว่าจะเป็นผู้ดำเนินการทางคดีโดยชอบเพื่อให้ที่ดินดังกล่าวหลุดพ้นจากภาระทั้งหมดนั้น ก็คือให้ผู้จะซื้อเข้ามารับภาระที่ผู้จะขายมีอยู่แทน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือรับชำระหนี้แทนผู้จะขายนั่นเอง เงื่อนไขดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินการทางคดีโดยชอบหาใช่เป็นสัญญาจะโอนสิทธิในการดำเนินคดีหรือซื้อขายความที่วัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันจะตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ไม่ ที่ดินทั้ง 83 แปลง มีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดจำเลยมิได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นเจ้าของโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์ถูก ว.และพ. ฟ้องให้โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 30041 และที่ 30042 ก่อนที่จะทำสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวกับจำเลย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจัดการให้ว.และพ. ซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินเดิมได้รับที่ดินไปตามสัญญา การที่จำเลยดำเนินการให้โจทก์จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้ง 2 แปลง ให้แก่บริษัท ท. ทั้งที่โจทก์ได้สอบถามจำเลยกับเจ้าพนักงานที่ดินแล้วว่าที่ดินทั้ง 2 แปลงดังกล่าวติดอายัดตามคำสั่งศาลหรือไม่ ก็ได้รับแจ้งว่าไม่ติดอายัด โจทก์หลงเชื่อจึงโอนที่ดินไปการดำเนินการดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการประพฤติผิดสัญญา โจทก์ยอมจ่ายเงินค่าเสียหายจำนวน 800,000 บาทเศษให้แก่ ว.และพ. ก็เพราะถูกบุคคลทั้งสองฟ้องคดีอาญาฐานโกงเจ้าหนี้อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการผิดสัญญาของจำเลยและทางศาลประทับฟ้องโจทก์ซึ่งเป็นข้าราชการจะได้รับความเสียหายต่อตำแหน่งหน้าที่และเกียรติยศชื่อเสียงประกอบกับจำเลยรับว่าที่ดินพิพาททั้ง 2 แปลงมีราคารวมกัน1,000,000 บาทเศษ ค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวจึงไม่ใช่ค่าเสียหายอันไกลกว่าเหตุ จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุที่จำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายเป็นเหตุให้โจทก์ต้องใช้ค่าที่ดินจำนวนดังกล่าวแก่ ว.และพ. เป็นกรณีไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6658

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6658/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1358, 1364 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55, 142, 172

โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยทั้งสาม และขอให้ศาลบังคับเพื่อให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมตาม ป.พ.พ. มาตรา1364 เป็นการบรรยายฟ้องถึงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนของโจทก์ และขอให้ศาลบังคับแบ่งแยกทรัพย์มรดกของ อ. ที่โจทก์และบรรดาทายาทของ อ.ได้รับมาโดยต่างครอบครองเป็นส่วนสัดแล้ว ส่วนที่เหลือขอให้แบ่งตามมาตรา 1364 ซึ่งกำหนดวิธีการแบ่งเอาไว้ ย่อมทำให้จำเลยที่ 1 เข้าใจข้อหาได้ดี และจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับวิธีการแบ่ง คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172วรรคสอง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมา แสดงให้เห็นว่าโจทก์ฟ้องเรียกร้องขอแบ่งทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกและเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมตามข้อตกลงแบ่งการครอบครองทรัพย์พิพาทเป็นส่วนสัดและทรัพย์สินที่เหลือก็ขอให้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์เป็นเด็ดขาด โจทก์ได้ติดต่อกับจำเลยที่ 1 แล้วแต่ตกลงกันไม่ได้ ซึ่งในข้อนี้จำเลยที่ 1 ก็ให้การว่า ได้แบ่งแยกทรัพย์มรดกแก่ทายาททุกคนเป็นส่วนสัดแล้วและการแบ่งแยกทรัพย์สินตามข้อตกลง จำเลยที่ 1 พร้อมจะแบ่งแยกแต่โจทก์ไม่ยอมส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 จึงได้ฟ้องโจทก์ไว้แล้ว กรณีเช่นนี้ชี้ให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยไม่ยอมแบ่งทรัพย์พิพาทตามข้อตกลง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

ตามข้อเท็จจริงโจทก์และจำเลยทั้งสามยอมรับว่า โจทก์ ป.,ด. และจำเลยที่ 3 ได้ตกลงแบ่งกันครอบครองตึกแถวในที่ดินพิพาทแล้ว บรรดาตึกแถวที่แบ่งกันครอบครองต่างทำสัญญาเช่าและเก็บค่าเช่ากันเองเป็นเวลานับ10 ปีแล้ว ดังนี้ ตึกแถวจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ สำหรับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ตั้งของตึกแถวดังกล่าว แม้ข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์จะระบุว่าเป็นการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์เฉพาะตึกแถวไม่รวมถึงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท แต่โจทก์และจำเลยทั้งสามก็ไม่ขัดข้องจะแบ่งที่ดินอันเป็นที่ตั้งของตึกแถว ซึ่งน่าจะรวมถึงที่ดินอันเป็นทางเท้าด้านหน้าและด้านหลังของตึกแถวด้วยเพราะถือเป็นบริเวณที่ดินส่วนหนึ่งของตึกแถว ที่ศาลล่างพิพากษาต้องกันให้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยให้รวมถึงที่ดินอันเป็นทางเท้าด้านหน้าและด้านหลังของตึกแถวด้วย จึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคแรก

วิธีการแบ่งทรัพย์สินในระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมนั้นกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 คือให้กระทำโดยแบ่งทรัพย์สินนั้นเองระหว่างเจ้าของรวม หรือโดยขายทรัพย์สินแล้วเอาเงินที่ขายได้แบ่งกัน ถ้าเจ้าของรวมไม่ตกลงกัน ศาลอาจสั่งให้เอาทรัพย์สินนั้นออกแบ่ง ถ้าการแบ่งไม่อาจทำได้หรือจะเสียหายมากนัก ศาลจะสั่งให้ขาย โดยประมูลราคากันระหว่างเจ้าของรวมหรือขายทอดตลาดก็ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้แบ่งทรัพย์พิพาทบางรายการกันเองระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสาม หากตกลงแบ่งกันไม่ได้ให้ขายทอดตลาดชอบด้วยมาตรา 1364 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6646

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6646/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 383

สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ร้อยละ 18 ต่อปี ตามสัญญาข้อ 2 อยู่แล้วส่วนการที่สัญญาข้อ 4 กำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไว้ร้อยละ 21 ต่อปี ก็คือการที่จำเลยที่ 1สัญญาให้เบี้ยปรับในฐานผิดสัญญากู้เงินในอัตราร้อยละ 3 ต่อปีซึ่งถ้าสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ให้การถึงและศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดปัญหาเรื่องนี้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ในคดีก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6643

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6643/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 134, 227

บริเวณที่เกิดเหตุมีแสงไฟสว่างพอที่ประจักษ์พยานจะมองเห็นเหตุการณ์ได้แม้ท. เบิกความชั้นพิจารณาไม่ตรงกับพยานปากอื่นแต่ท. ก็เบิกความว่าในวันเบิกความจำหน้าคนร้ายไม่ได้แล้วและชั้นสอบสวนท. ชี้ตัวคนร้ายตรงกับคำเบิกความพยานโจทก์ปากอื่นอีก2ปากพยานโจทก์ปากนี้จึงไม่เสียไปเมื่อจำเลยทั้งสองถูกจับในวันรุ่งขึ้นจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนจำเลยทั้งสองก็ให้การรับสารภาพและพาไปชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพหลังเกิดเหตุเพียง3วันเชื่อว่าจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพโดยสมัครใจจึงใช้ยันจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา134

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4800

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4800/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 744 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 45, 47, 56, 77 (2), 130

ตามคำขอประนอมหนี้ประกอบคำร้องแก้ไขคำขอประนอมหนี้ของโจทก์ไม่มีข้อความระบุให้จำเลยไถ่ถอนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทคืนโจทก์คงมีข้อความเพียงว่าเมื่อโจทก์ชำระหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ข้อ1แล้วขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถอนการยึดทรัพย์สินของโจทก์คืนให้โจทก์ไปเท่านั้นและตามบันทึกรายงานการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก็สรุปใจความได้ว่าโจทก์จะขอไถ่ถอนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจากจำเลยภายหลังเมื่อโจทก์ได้ชำระเงินต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามคำขอประนอมหนี้ครบถ้วนแล้วไม่ได้มีความหมายถึงขนาดว่าจำเลยยินยอมสละที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทอันเป็นหลักประกันทั้งไม่ใช่วิสัยที่จำเลยจะพึงกระทำเช่นนั้นเพราะจำเลยในฐานะผู้รับจำนองสามารถบังคับเอาจากทรัพย์จำนองได้อยู่แล้วจำเลยยังคงมีสิทธิเหนือที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทในฐานะผู้รับจำนอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4620

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4620/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420 พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2499 ม. 24, 27 พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 ม. 2

ขณะเกิดเหตุซึ่งเป็นวันที่จำเลยที่1ไปยื่นคำร้องต่อจำเลยที่2เพื่อให้จำเลยที่2ในฐานะนายทะเบียนผู้รับแจ้งตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรพ.ศ.2499มีคำสั่งย้ายชื่อโจทก์ซึ่งมีชื่อเป็นผู้อาศัยอยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่96/2อันเป็นทะเบียนบ้านของจำเลยที่1ออกจากทะเบียนบ้านดังกล่าวไปอยู่ในทะเบียนคนบ้านกลางซึ่งเป็นวันเดียวกับวันที่จำเลยที่2มีคำสั่งอนุญาตให้ย้ายชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านของจำเลยที่1ได้เป็นช่วงเวลาที่พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรพ.ศ.2499ใช้บังคับอยู่ยังไม่ถึงวันที่พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรพ.ศ.2534มีผลใช้บังคับการที่จะพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ต้องพิจารณาถึงสิทธิและหน้าที่ของโจทก์และจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรพ.ศ.2499เป็นเกณฑ์ โจทก์พักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่96/1มาตั้งแต่ปี2527แสดงว่าโจทก์ได้ออกจากบ้านเลขที่96/2อันเป็นบ้านที่โจทก์มีชื่อเป็นผู้อาศัยอยู่ในทะเบียนหลังนั้นนับถึงวันที่จำเลยที่1ไปยื่นคำร้องต่อจำเลยที่2เพื่อให้ย้ายชื่อโจทก์ออกจากบ้านของจำเลยที่1เป็นเวลาประมาณ7ปีถือว่าโจทก์ได้ย้ายที่อยู่จากบ้านซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนไปอยู่ที่อื่นแล้วจำเลยที่1ในฐานะเจ้าบ้านมีหน้าที่แจ้งการย้ายที่อยู่ของโจทก์ต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งภายในกำหนด15วันนับแต่วันย้ายออกเมื่อขณะที่จำเลยที่1ยื่นคำร้องต่อจำเลยที่2ให้ย้ายชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านของจำเลยที่1จำเลยที่1กำลังมีข้อพิพาทอยู่กับโจทก์เกี่ยวด้วยเรื่องที่จำเลยที่1ฟ้องขับไล่โจทก์ให้ออกจากบ้านเลขที่96/1อันเป็นบ้านอีกหลังหนึ่งของจำเลยที่1อยู่การที่จำเลยที่1ไม่แจ้งย้ายชื่อของโจทก์จากทะเบียนบ้านเลขที่96/2ไปอยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่96/1ย่อมไม่เป็นการจงใจทำละเมิดต่อโจทก์ การที่จำเลยที่2ในฐานะนายทะเบียนผู้รับแจ้งมีคำสั่งอนุญาตให้ย้ายชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านเลขที่96/2ของจำเลยที่1ไปไว้ในทะเบียนบ้านกลางหรือทะเบียนคนบ้านกลางตามระเบียบสำนักงานกลางทะเบียนราษฎรกรมการปกครองว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎรสำหรับสำนักทะเบียนในเขตปฏิบัติการตามโครงการจัดทำเลขประจำตัวประชาชนพ.ศ.2528ข้อ52ถือว่าจำเลยที่2ได้สั่งการไปตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามระเบียบแบบแผนของทางราชการย่อมไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6642

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6642/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 192 วรรคสอง

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297และตามคำฟ้องไม่มีข้อความตอนใดบรรยายถึงข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญของความผิดฐานเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปอันเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมได้รับอันตรายสาหัสตามมาตรา 299 แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 299 ต้องถือว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่บรรยายในคำฟ้องในข้อสาระสำคัญ จึงลงโทษจำเลยไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6635

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6635/2539

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 285

จำเลยได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายในขณะที่จำเลยซึ่งเป็นครูอาวุโสเข้าเวรเป็นครูผู้ปกครองประจำวันมีหน้าที่ควบคุมดูแลเด็กนักเรียนถือได้ว่าขณะเกิดเหตุผู้เสียหายเป็นศิษย์อยู่ในความดูแลของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6631

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6630 - 6631/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 222, 420, 1304 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 146 วรรคหนึ่ง

ได้มีการทำถนนซอยพิพาทมาแล้วถึงประมาณ30ถึง40ปีและอนุญาตให้ประชาชนใช้เดินเข้าออกมาโดยตลอดแม้เคยมีการห้ามมิให้ฮ. และบุตรของฮ. เดินเพราะบุตรของฮ. ทำเสียงดังและได้เคยห้ามบุคคลที่นำรถไถนาไปวิ่งในทางพิพาทดังกล่าวนั้นก็เป็นเรื่องที่ผู้นั้นทำเสียงดังก่อกวนความสงบสุขและเป็นเรื่องที่จะมาทำให้ถนนเสียหายเท่านั้นมิใช่เป็นเรื่องมีเจตนาที่จะหวงห้ามมิให้ประชาชนทั่วไปเดินในทางพิพาทและการที่เจ้าของที่ดินเดิมช่วยออกเงินกันเองและเรี่ยไรเงินกับผู้ใช้ถนนในซอยมาทำการซ่อมแซมทางพิพาทซื้อเสาไฟฟ้ามาปักก็เป็นเรื่องการปรับปรุงทางพิพาทให้ดีขึ้นและให้ทางพิพาทมีแสงสว่างสะดวกในการใช้ทางพิพาทในเวลากลางคืนมิใช่เป็นเรื่องที่แสดงถึงการสงวนสิทธิไว้ในฐานะเป็นถนนส่วนบุคคลแต่อย่างใดอีกทั้งขณะที่ส.เจ้าของที่ดินเดิมขายที่ดินให้สิบเอกบ.สามีของจำเลยที่1ในแผนที่ของหนังสือรับรองการทำประโยชน์ก็ยังได้ระบุไว้ว่าถนนพิพาทเป็นถนนสาธารณประโยชน์อยู่แล้วและร้อยตรีช.ก็ได้ซื้อที่ดินจากส.ในวันเดือนปีเดียวกันกับสามีจำเลยที่1เช่นกันก็แสดงอยู่ว่าขณะที่ซื้อมีทางสาธารณะอยู่ก่อนแล้วดังนั้นแม้ร้อยตรีช.จะได้ทำป้ายแสดงว่าถนนดังกล่าวเป็นถนนส่วนบุคคลก็ตามก็ไม่ทำให้ทางสาธารณประโยชน์ดังกล่าวกลับไม่เป็นทางสาธารณะไปได้ถือได้ว่าจำเลยที่1กับพวกเจ้าของที่ดินเดิมยินยอมให้ที่ดินที่นำมาทำเป็นทางพิพาทเป็นทางเดินของบุคคลทั่วไปใช้เป็นทางสัญจรไปมาเป็นเวลาหลายสิบปีดังกล่าวข้างต้นย่อมถือได้ว่าจำเลยที่1กับพวกได้อุทิศที่ดินถนนซอยพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยายแล้วทางพิพาทจึงเป็นทางสาธารณะ จำเลยปิดกั้นทางพิพาทซึ่งเป็นทางสาธารณะเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่อาจใช้รถบรรทุกดินผ่านทางพิพาทโจทก์ต้องเพิ่มค่าแรงให้แก่ผู้รับเหมานั้นโจทก์เรียกค่าเสียหายส่วนนี้ได้แต่ดอกเบี้ยจากค่าแรงที่โจทก์อ้างว่าต้องเสียให้แก่ธนาคารวันละ100บาทนั้นเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา222วรรคสองโจทก์จะต้องนำสืบให้เชื่อได้ว่าจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้วว่าโจทก์จะต้องได้รับความเสียหายดังกล่าวเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยรู้ล่วงหน้ามาก่อนค่าเสียหายส่วนนี้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ คดีทั้งสองสำนวนนี้จำเลยที่1และโจทก์ที่2ต่างฟ้องเรียกค่าเสียหายเกี่ยวกับการใช้ทางพิพาทเดียวกันซึ่งก่อนที่จะพิจารณากำหนดว่าฝ่ายใดจะต้องเป็นผู้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่กันจำเป็นที่จะต้องพิจารณาในประเด็นอย่างเดียวกันทั้งสองสำนวนว่าทางพิพาทที่จำเลยที่1อ้างว่าเป็นของตนนั้นตกเป็นทางสาธารณะแล้วหรือไม่ก่อนมูลคดีนี้จึงเกี่ยวกับการชำระหนี้มาจากเหตุการวินิจฉัยในข้อเท็จจริงเดียวกันคดีจึงมีลักษณะเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้และถือว่าคำพิพากษาอันเป็นที่สุดของศาลสองศาลขัดกันจึงต้องถือตามคำพิพากษาของศาลที่สูงกว่าคือคำพิพากษาของศาลฎีกาในสำนวนแรกนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา146วรรคหนึ่งจึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามสำนวนหลังใหม่ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะฉะนั้นในสำนวนหลังโจทก์ที่2จึงไม่ได้กระทำละเมิดต่อจำเลยที่1และไม่ต้องชำระค่าเสียหายแก่จำเลยที่1

« »
ติดต่อเราทาง LINE