คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2531

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2531

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2515 ม. ,

เงินค่าล่วงเวลา และเงินค่าทำงานในวันหยุดนั้น มิใช่ค่าจ้างเพราะมิใช่เงินหรือเงินและสิ่งของที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานตามปกติของวันทำงานหรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ ฉะนั้นเงินค่าล่วงเวลาและเงินค่าทำงานในวันหยุดจึงมิใช่ค่าจ้างที่จะนำมารวมเป็นฐานคำนวณค่าชดเชยได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2531

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1474 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 172 พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2477 ม. 4

ฟ้องโจทก์กล่าวว่า สินสมรสระหว่างนายห.และนางก.มีจำนวนเท่าใด ตกเป็นมรดกของนางก. 2 ใน 3 ส่วนคิดเป็นเงินเท่าใด ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ชัดแจ้งว่า ส่วนที่ตกเป็นส่วนแบ่งของนายห.เท่ากับ 1 ใน 3 ส่วน และสามารถคำนวณออกมาเป็นจำนวนเงินได้โดยง่าย ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม สามีภรรยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5การแบ่งสินสมรสต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 68ซึ่งกำหนดว่า ถ้าทั้งสองฝ่ายมีสินเดิมให้แบ่งสินสมรสเป็น 3 ส่วนชายได้ 2 ส่วน หญิงได้ 1 ส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2531

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 226, 227

โจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นยืนยันว่าจำเลยร่วมกระทำผิดกับส.ที่พยานโจทก์เบิกความว่าส.บอกว่าจำเลยเป็นผู้ร่วมวางแผนในการกระทำผิดด้วยนั้น เป็นเรื่องพยานโจทก์ได้รับคำบอกเล่าจากส.ผู้กระทำผิดร่วมกับจำเลยซัดทอดถึงจำเลย จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อลงโทษจำเลยไม่ได้ ลำพังเพียงคำเบิกความของพนักงานสอบสวนที่เบิกความประกอบคำรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยซึ่งจำเลยปฏิเสธในชั้นพิจารณาจะฟังลงโทษจำเลยว่าเป็นผู้กระทำความผิดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1345

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1345/2531

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 195 วรรคสอง, 212, 213 พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ม. 27 ทวิ

ขณะถูกจับกุมพร้อมของหนีภาษี จำเลยที่ 3 นั่งรถยนต์ไปกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 เป็นคนขับรถ ของหนีภาษีที่บรรทุกรถยนต์มามีเป็นจำนวนมากและเป็นสินค้าที่นำมาจากต่างประเทศ ของหนีภาษีบรรทุกรถยนต์มามีเป็นจำนวนมากและเป็นสินค้าที่นำมาจากต่างประเทศ ของบางส่วนเอาไว้ที่เบาะที่นั่งตอนหลังเห็นได้ชัดเจน เช่นนี้นับได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ช่วยซ่อนเร้น ช่วยพาเอาไปเสีย หรือรับเอาไว้ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรตาม พระราชบัญญัติ ศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา27 ทวิ แล้ว

พระราชบัญญัติ ศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 27 ทวิ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ค่าปรับตามบทมาตราดังกล่าวหาได้หมายความรวมถึงภาษีการค้า ภาษีเทศบาลอันเป็นภาษีอากรฝ่ายสรรพากรด้วยไม่ การคิดคำนวนค่าปรับโดยนำภาษีการค้า ภาษีเทศบาล มารวมคำนวณด้วยจึงไม่ชอบ และศาลต้องปรับจำเลยที่ร่วมกระทำความผิดด้วยกันทุกคนไม่เกินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับจำเลยทุกคนเรียงตามรายตัวบุคคลจึงเป็นการไม่ถูกต้อง แต่โจทก์พอใจมิได้อุทธรณ์โต้แย้งปัญหานี้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ปรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 รวมกันย่อมมีผลทำให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกันได้รับโทษหนักขึ้น เป็นการต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา212 เนื่องจากปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ทั้งเป็นเหตุที่อยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยใหม่ให้จำเลยทุกคนได้รับโทษปรับเรียงตามรายตัวบุคคลรวมกันแล้วไม่เกินโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1338

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1338/2531

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 89 พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 28, 41, 43 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 8, 44, 45

การพิจารณาคำร้องเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา 41,121,124 ต้องปรับด้วยมาตรา 43 มิใช่มาตรา 28ซึ่งเป็นการพิจารณาข้อพิพาทของผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานพระราชบัญญัติ ญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 43 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารสำหรับการปฏิบัติตามหน้าที่เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงสำหรับการวินิจฉัยชี้ขาดตาม มาตรา41 แต่มาตราทั้งสองก็หาได้บัญญัติว่า ข้อเท็จจริงที่ได้ มาตามมาตรา 43 ถือเป็นยุติไม่และเมื่อผู้กล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวหานำคดีไปสู่ศาลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคท้ายแล้วคู่ความย่อมนำสืบข้อเท็จจริงได้ทุกอย่างทุกประการเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์และให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดีตามความต้องการ ของพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 44,45 การสืบพยานในคดีแรงงานมีข้อแตกต่างจากคดีแพ่งสามัญโดยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 45 วรรคสองให้ศาลแรงงานเป็นผู้ซักถามพยาน ตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน การที่โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงทั้งหลายในคดีได้ ย่อมถือได้ว่าศาลแรงงานกลางอนุญาตแล้ว แม้ว่าโจทก์จะมิได้นำสืบข้อเท็จจริงต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ โจทก์ก็นำสืบข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณาต่อศาลได้ และจำเลยมีหน้าที่นำสืบหักล้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2531

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 172 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 31, 35, 54 ประมวลรัษฎากร บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร

การที่โจทก์หลายคนแต่งตั้งโจทก์คนใดคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้แทนดำเนินคดีแรงงาน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 35 และข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ในการดำเนินคดีลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2523 ข้อ 1 เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดวิธีการแต่งตั้งไว้โดยเฉพาะ แตกต่างจากการที่คู่ความในคดีแพ่งธรรมดามอบอำนาจหรือตั้งให้บุคคลอื่นเป็นผู้แทนในการดำเนินคดีอันจะต้องปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร เอกสารแสดงการแต่งตั้งดังกล่าวจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ โจทก์ฟ้องเรียกเงินสะสม เงินสมทบและค่าจ้างที่ค้างชำระเมื่อคำฟ้องของโจทก์บรรยายถึงสิทธิของโจทก์และหน้าที่ของจำเลยรวมทั้งข้อโต้แย้งที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับการทำงาน และคำขอบังคับในจำนวนเงินที่โจทก์พึงมีสิทธิได้รับแม้จะไม่ระบุว่าจำเลยหักเงินสะสมไว้อย่างไร เพียงใด และรายละเอียดของเงินสมทบมีมาอย่างไร คำฟ้องของโจทก์ก็แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ศาลแรงงานกลางฟังว่าโจทก์ทุกคนได้ลาออกจากบริษัทจำเลยซึ่งหมายความว่าสภาพการจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลงแล้วการที่จำเลยอุทธรณ์ว่าสภาพการจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยยังไม่สิ้นสุด เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าจำเลยจะต้องรับผิดจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบให้โจทก์หรือไม่จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335 - 1336/2531

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 172 ประมวลรัษฎากร ม. 118 บัญชีอ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 31, 35, 54

การที่โจทก์หลายคนแต่งตั้งโจทก์คนใดคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้แทนดำเนินคดีแรงงาน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 35 และข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ในการดำเนินคดีลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2523 ข้อ 1 เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดวิธีการแต่งตั้งไว้โดยเฉพาะ แตกต่างจากการที่คู่ความในคดีแพ่งธรรมดามอบอำนาจหรือตั้งให้บุคคลอื่นเป็นผู้แทนในการดำเนินคดีอันจะต้องปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร เอกสารแสดงการแต่งตั้งดังกล่าวจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์

โจทก์ฟ้องเรียกเงินสะสม เงินสมทบและค่าจ้างที่ค้างชำระ เมื่อคำฟ้องของโจทก์บรรยายถึงสิทธิของโจทก์และหน้าที่ของจำเลย รวมทั้งข้อโต้แย้งที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับการทำงาน และคำขอบังคับในจำนวนเงินที่โจทก์พึงมีสิทธิได้รับ แม้จะไม่ระบุว่าจะเลยหักเงินสะสมไว้อย่าไร เพียงใด และรายละเอียดของเงินสมทบมีมาอย่างไร คำฟ้องของโจทก็แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว

ศาลแรงงานกลางฟังว่าโจทก์ทุกคนได้ลาออกจากบริษัทจำเลยซึ่งหมายความว่าสภาพการจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลงแล้ว การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าสภาพการจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยยังไม่สิ้นสุด เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าจำเลยจะต้องรับผิดจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบให้โจทก์หรือไม่จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2531

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 205, 226

เมื่อศาลชั้นต้นสั่งว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบและนัดฟังคำพิพากษาในเวลาอีก 20 วัน ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำสั่งก่อนวันนัดไม่ได้ เพราะเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) และจะขอให้พิจารณาใหม่ก็ไม่ได้เพราะศาลชั้นต้นมิได้สั่งว่าผู้ร้องขาดนัดพิจารณา.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1332

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1332/2531

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 653

การนำสืบการใช้เงินที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้มาแสดงหรือมีการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมหรือแทงเพิกถอนในเอกสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสองหมายถึงการนำสืบถึงการชำระเงินต้นเท่านั้น ไม่รวมถึงการชำระดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1325

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1325/2531

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 83, 91, 288, 295

ผู้ตายหยอดเหรียญที่ตู้เพลงในร้านอาหารแต่เพลงไม่ดังเพราะจำเลย ทั้งสองกับว.และอ.พวกของจำเลยถอดปลั๊กตู้เพลงออกผู้ตายจึงขอเงินคืนแล้วเกิดเรื่องกันโดยว.ใช้มีดแทงผู้ตายหลายครั้งจำเลยที่ 1 กับอ.ใช้ขวดสุราตี ส่วนจำเลยที่ 2 ใช้เก้าอี้ตีผู้ตายผู้เสียหายเข้าไปห้ามก็ถูกทำร้ายสลบอยู่ในร้านอาหาร เมื่อผู้ตาย หนีออกจากร้านอาหารจำเลยทั้งสอง และอ.ไล่ตามและตะโกนว่าฆ่ามันให้ตายและยังได้ตามมาทำร้ายผู้ตายห่างจากที่เกิดเหตุครั้งแรกประมาณ 3 เส้น จนผู้ตายถึงแก่ความตาย แล้วจำเลยทั้งสองยังกลับมาทำร้ายผู้เสียหายซึ่งนอนสลบอยู่อีก ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดฐานร่วมกับผู้อื่นฆ่าผู้ตายและทำร้ายร่างกายผู้เสียหายรวม 2 กรรม

« »
ติดต่อเราทาง LINE