คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2525

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2525

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 582

การเลิกจ้างลูกจ้างทดลองปฏิบัติงานไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 684

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 684/2525

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 224

โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดโดยอ้างว่าจำเลยเป็นทายาทของผู้ตายจำเลยให้การปฏิเสธว่าตนมิได้เป็นทายาทของผู้ตายศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยเป็นทายาทของผู้ตายหรือไม่ และพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์เพราะจำเลยเป็นทายาทของผู้ตาย ดังนี้ ประเด็นโดยตรงแห่งคดีจึงเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัว จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 682

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 682/2525

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 49, 54 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 84, 177, 185 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ม. , ,

ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ตามระเบียบของจำเลย โจทก์ที่1 มีหน้าที่สอบถามผู้ที่ขอใช้กุญแจกลางว่าเป็นผู้เช่าที่มาพักจริงหรือไม่ การที่โจทก์ที่ 1 อุทธรณ์ว่าตนไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบว่าผู้ที่ขอกุญแจกลางเป็นผู้เช่า จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 54

จำเลยต่อสู้เรื่องความเสียหายต่อชื่อเสียงเป็นประเด็นไว้ในคำให้การแล้วแม้จำเลยจะนำสืบไม่ชัดแจ้งว่าได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงอย่างไร แต่ข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม เมื่อทรัพย์สินของผู้ที่มาพักในโรงแรมสูญหายไปเพราะความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานของโรงแรม จึงเป็นที่เห็นได้ชัดว่าจำเลยย่อมได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียง

เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยมิได้กำหนดไว้ในเรื่องการสอบสวนว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร การที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยเรียกโจทก์ทั้งสองมาสอบถามและให้เขียนรายงานกล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถือได้ว่ามีการสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วเมื่อได้ความว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของโจทก์ที่ 1 ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรง การที่จำเลยให้โจทก์ที่ 1 ออกจากงานจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม

ศาลฎีกาสั่งให้รับฟ้องโจทก์ข้อที่กล่าวหาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมเพราะจำเลยมิได้สอบสวนตามระเบียบเมื่อได้ความว่าจำเลยได้สอบสวนตามระเบียบแล้วแต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 ประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจึงเป็นกรณีจำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 โดยไม่มีความผิด และเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ที่ 2 และศาลแรงงานกลางมีอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 ที่จะกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยใช้แก่โจทก์ที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 488

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 488/2525

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 148

โจทก์จำเลยเคยมีคดีฟ้องร้องพิพาทกันเกี่ยวกับการแบ่งสินสมรสซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาให้แบ่งสินสมรสตามที่คู่ความตกลงประนีประนอมยอมความกัน และคดีถึงที่สุดไปแล้วการที่โจทก์กลับมาฟ้องขอแบ่งสินสมรสจากจำเลยอีก ไม่ว่าทรัพย์ในคดีนี้จะเป็นทรัพย์รายเดียวกันกับคดีก่อนหรือต่างรายกัน ก็ยังเป็นการฟ้องร้องในประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอยู่นั่นเอง จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. ม.148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2525

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 84

คู่ความตกลงท้าแพ้ชนะกันว่า ถ้าคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่งของศาลชั้นต้นเดียวกันถึงที่สุดโดยพิพากษาว่าที่ดินเป็น ของ ชโจทก์ยอมแพ้ ถ้าคดีถึงที่สุดว่าที่ดินเป็นของ โจทก์ จำเลยและจำเลยร่วมยอมแพ้จำเลยและจำเลยร่วมย่อมออก จากที่ดินเช่นนี้เมื่อปรากฏว่าคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่ง นั้นถึงที่สุดโดยพิพากษาว่าที่ดินเป็นของโจทก์ จำเลยและ จำเลยร่วมจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2525

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1330 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 177

โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่าได้มาโดยซื้อจากการขายทอดตลาดของศาลในคดีหนึ่ง จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทครึ่งหนึ่งตามคำพิพากษาฎีกาที่ได้พิพากษาในคดีที่โจทก์อ้าง และโจทก์ไม่สุจริตซื้อที่ดินพิพาททั้ง ๆ ที่ทราบว่าจำเลยครอบครองเป็นส่วนสัดมาเป็นเวลาร่วม 20 ปี จึงฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลย ดังนี้ เป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมโดยตรง เพราะเป็นเรื่องที่จำเลยกล่าวอ้างถึงความไม่สุจริตของโจทก์ในการซื้อที่ดินพิพาท อันจะทำให้โจทก์ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. ม.1330 จึงชอบที่ศาลจะรับฟ้องแย้งไว้พิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 351

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 351/2525

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 900, 916 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 177, 183

จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายเช็ค ย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตาม ป.พ.พ. ม.900 ข้อต่อสู้ของจำเลยที่ว่าจำเลยมอบเช็คให้บุคคลอื่นโดยไม่มีมูลหนี้ จึงสั่งธนาคารระงับการจ่ายเงินนั้น จำเลยจะยกขึ้นมาเป็นข้อต่อสู้ผู้ทรงไม่ได้ จำเลยจะพ้นจากความรับผิดได้ต่อเมื่อการโอนได้มีขึ้นด้วยการคบคิดกันฉ้อฉลตาม ม.916

การที่จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า โจทก์รับเช็คมาโดยไม่สุจริตและไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมิได้กล่าวอ้างว่าไม่สุจริตและมิชอบอย่างไรอันจะถือว่าเป็นการคบคิดกับผู้หนึ่งผู้ใดเพื่อฉ้อฉลตามที่บัญญัติไว้ใน ม.916 เป็นคำให้การที่ไม่แจ้งชัดตาม ป.ว.พ. ม.177จึงต้องถือว่าโจทก์รับเช็คมาโดยสุจริตและเป็นผู้ทรงโดยชอบข้อวินิจฉัยที่ว่าโจทก์รับเช็คพิพาทโดยการคบคิดกับบุคคลอื่นทำการฉ้อฉลจำเลยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นจากคำฟ้องและคำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285/2525

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 75, 438, 887 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 84

การใช้ราคาทรัพย์สินที่เสียหายเพราะการละเมิด จะต้องชดใช้ตามสภาพของทรัพย์ในขณะที่ทำละเมิด ไม่ใช่ในขณะที่ซื้อใหม่

ผู้ต้องเสียหายไม่ต้องนำสืบถึงราคาเดิมของทรัพย์ การนำสืบเพียงว่าที่ได้รับความเสียหายนั้นหากจะกระทำให้คืนสู่สภาพเดิม จะต้องเสียค่าใช้จ่าย คือค่าสิ่งของและค่าแรงงานคิดเป็นเงินเท่าใดก็ถือได้ว่าได้นำสืบถึงความเสียหายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2525

พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ.2524 ม. 13, 14

พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 ได้กำหนดวิธีการไว้เป็นพิเศษในกรณีที่จะมีผู้นำคดีขึ้นสู่ศาล โดยให้ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งเพื่อทำความเห็นไปยังศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด และได้กำหนดไว้ด้วยว่ากรณีใดที่จะขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดได้ สิทธิในการที่จะยื่นคำร้องดังกล่าวจึงมีอยู่เฉพาะตามที่พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 กำหนดไว้เท่านั้น เมื่อสิทธิของผู้ร้องในการขอเปลี่ยนภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองหลังจากนายทะเบียนสั่งรับแจ้งหนังสือเชิญชวนแล้วไม่มีบทมาตราใดกำหนดให้นำคดีขึ้นสู่ศาลได้ผู้ร้องก็ไม่มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 662

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 662/2525

พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 15, 22, 110

วันที่ 26 กันยายน ธนาคารส่งเงินที่มีคำสั่งอายัดไว้ก่อนคำพิพากษาให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อนำมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา แต่เมื่อวันที่ 10 เดือนเดียวกัน ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยไว้ชั่วคราวในคดีล้มละลายศาลจึงสั่งให้โอนเงินไปไว้ในคดีล้มละลาย วันที่1 ตุลาคม โจทก์แถลงขอรับเงิน ศาลสั่งยกคำขอ โจทก์ไม่โต้แย้งคัดค้านคำสั่ง วันที่ 2 ตุลาคม จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในอีกสำนวนหนึ่ง ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดีเดิม แล้วสั่งโอนเงินไปไว้ในคดีใหม่ดังนี้ โจทก์จะอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 110 มาอ้างว่า การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์เพื่อยันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ในคดีใหม่ไม่ได้

« »
ติดต่อเราทาง LINE