กฎหมายประเทศไทย

กฎหมายคืออะไร? กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ กติกา ที่กำหนดไว้เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคม โดยมีสภาพบังคับ ควบคุม ความประพฤติของบุคคลในสังคมให้ปฏิบัติตาม หากผู้ใดฝ่าฝืนจะมีความผิดและได้รับบทลงโทษตามที่กำหนดไว้ ซึ่งกฎหมายไทยก็มีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร  โดย Legardy ได้รวบรวมกฎหมายในชีวิตประจำวันซึ่งเป็นกฎหมายที่ประชาชนควรรู้มาไว้ที่นี่

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์

พระราชบัญญัติว่าด้วยเรื่องการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

กฎหมายที่ดิน

ความสำคัญของกฎหมายไทย

หลายคนอาจจะสงสัยว่ากฎหมายมีความสำคัญอย่างไร กำหนดเอาไว้เพื่ออะไร ต้องบอกเลยว่ากฎหมายนั้นมีความสำคัญต่อประเทศเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น

  • ช่วยสร้างความเป็นระเบียบและสงบเรียบร้อยให้กับประเทศ
  • ก่อให้เกิดความเป็นธรรมให้กับสังคม 
  • เป็นแนวทางให้รัฐบาลยึดถือในการบริหารประเทศ
  • เป็นกรอบแห่งการประพฤติของคนในสังคม ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องได้รับโทษ
  • เป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

 

กฎหมายของไทยมีอะไรบ้าง

กฎหมายประเทศไทยมีมากมาย โดยสามารถจำแนกออก 7 ประเภท ได้แก่

  • รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายไทยที่สูงสุดในประเทศ ใช้เป็นแนวทางในการบริหารประเทศ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้อำนาจอธิปไตย ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง สิทธิเสรีภาพของประชาชน 
  • พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อขยายความรัฐธรรมนูญ
  • พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ตราขึ้นตามคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา
  • พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ตราขึ้นตามคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรี
  • พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด
  • กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงตราขึ้นเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด
  • ข้อบัญญัติท้องถิ่น ได้แก่ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติเมืองพัทยา

 

ประเภทของกฎหมายไทย

นอกจากกฎหมาย 7 ประเภท กฎหมายไทยยังสามารถแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน ได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่

1. กฎหมายเอกชน

กฎหมายเอกชน คือ กฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนและเอกชนด้วยกันเอง รัฐไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย เช่น กฎหมายแพ่งทั้งหลายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นต้น

2. กฎหมายมหาชน

กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน ประชาชนทุกคนต้องปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม หากไม่ปฏิบัติตามจะมีผลกระทบต่อส่วนรวม โดยกฎหมายมหาชน เช่น ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายอาญา เป็นต้น

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม

 

กฎหมายมีกี่ขั้น

กฎหมายประเทศไทยได้กำหนดขั้นหรือลำดับศักดิ์เพื่อจัดลำดับฐานะและความสำคัญของกฎหมาย โดยกฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าจะตราออกมาให้มีความสอดคล้องกับกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่า และจะขัดแย้งกับกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่ามิได้ ซึ่งลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย แบ่งเป็น 7 ลำดับ ได้แก่

1. รัฐธรรมนูญ 

2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

3. พระราชบัญญัติ 

4. พระราชกำหนด 

5. พระราชกฤษฎีกา 

6. กฎกระทรวง

7. ข้อบัญญัติท้องถิ่น

 

กฎหมายใดที่มีความสำคัญที่สุดของไทยในปัจจุบัน

ความสำคัญของกฎหมายไทยขึ้นอยู่กับลำดับศักดิ์ ดังนั้น รัฐธรรมนูญ ซึ่งอยู่ลำดับศักดิ์แรก จึงเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญที่สุดในประเทศไทย

กฎหมายเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคน บางครั้งหลายคนอาจละเลยหรือมองข้ามไป ทำให้ไม่ได้ปฏิบัติอย่างถูกต้องจนเกิดปัญหา ดังนั้นการศึกษากฎหมายไทยจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยกฎหมายที่เราได้รวบรวมไว้ข้างต้น ถือเป็นกฎหมายเบื้องต้น กฎหมายพื้นฐานที่ประชาชนควรรู้ เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามกำหนด ตลอดจนรักษาสิทธิและผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้หากใครมีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อกฎหมาย หรือมีปัญหาแต่ไม่รู้จะปรึกษาใคร สามารถปรึกษาทนายออนไลน์ 24 ชม. ได้ที่ Legardy

mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 300 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 319 บาท