Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 550 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 550 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 550” คืออะไร? 


“มาตรา 550” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 550 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ผู้ให้เช่าย่อมต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องอันเกิดขึ้นในระหว่างเวลาเช่า และผู้ให้เช่าต้องจัดการซ่อมแซมทุกอย่างบรรดาซึ่งเป็นการจำเป็นขึ้น เว้นแต่การซ่อมแซมชนิดซึ่งมีกฎหมายหรือจารีตประเพณีว่าผู้เช่าจะพึงต้องทำเอง “

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 550” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 550 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1471/2548
ตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์และจำเลยระบุว่าเป็นการเช่าสำหรับบ้านเช่า เฟอร์นิเจอร์และของใช้ส่วนตัวตามที่ระบุในเอกสารแนบท้าย แสดงว่าการเช่าตามสัญญาครอบคลุมไปถึงเฟอร์นิเจอร์ของใช้ส่วนตัวอื่น ๆ ด้วย มิใช่เป็นการเช่าเฉพาะตัวบ้าน ซึ่งหากมีการต้องซ่อมแซมก็ต้องหมายรวมถึงการซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์และของใช้ส่วนตัวต่าง ๆ ดังกล่าวด้วย
สัญญาเช่าที่ระบุว่า ผู้เช่าต้องบำรุงรักษาทรัพย์สินทั้งหมดประกอบเป็นสิ่งที่เช่าให้อยู่ในสภาพดีและเรียบร้อย เพื่อซ่อมสิ่งที่สึกหรอจากการใช้งานตามปกตินั้น หมายถึงข้อสัญญาที่ให้ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องสงวนทรัพย์สินที่เช่าเสมอกับที่วิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง ต้องบำรุงรักษา และทำการซ่อมแซมเล็กน้อย ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 553 บัญญัติไว้เท่านั้น มิได้หมายความว่าผู้เช่าจะต้องรับผิดซ่อมแซมทรัพย์ที่เช่าในทุก ๆ กรณี
สัญญาเช่าที่ระบุให้ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องชำระค่าไฟฟ้า น้ำประปา แก๊ส โทรศัพท์และสาธารณูปโภคอื่น ๆ ทั้งหมดตามที่ถูกเรียกเก็บและต้องชำระค่าเสียหายทั้งหมดที่เกิดโดยผู้เช่าหรือครอบครัว แขก คนรับใช้ หรือสัตว์เลี้ยงของผู้เช่า ไม่มีข้อความตอนใดระบุให้เป็นข้อความรับผิดของผู้เช่าในการจัดการซ่อมแซมความชำรุดบกพร่องของทรัพย์สินที่เช่าแทนผู้ให้เช่า ทั้งรายการซ่อมแซมล้วนเป็นการซ่อมแซมใหญ่ซึ่งเป็นเรื่องความจำเป็นและสมควรเพื่อรักษาทรัพย์สินที่เช่าให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ อันเป็นหน้าที่ของจำเลยผู้ให้เช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 547 มิใช่เป็นการบำรุงรักษาตามปกติและเพื่อซ่อมแซมเล็กน้อยอันจะตกอยู่ในความรับผิดของโจทก์ผู้เช่า จำเลยจึงเป็นฝ่ายต้องรับผิดในการซ่อมแซมดังกล่าวตามมาตรา 550
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 550, ม. 553


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1471/2548
สัญญาเช่าข้อ 4 ระบุว่า ผู้เช่าต้องบำรุงรักษาทรัพย์สินทั้งหมดซึ่งประกอบเป็นสิ่งที่เช่าให้อยู่ในสภาพดีและเรียบร้อย เพื่อซ่อมสิ่งที่สึกหรอจากการใช้งานตามปกตินั้น หมายถึงข้อสัญญาที่ให้ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องสงวนทรัพย์สินที่เช่าเสมอกับที่วิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง ต้องบำรุงรักษาและทำการซ่อมแซมเล็กน้อยตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 553 บัญญัติไว้เท่านั้น หาได้หมายความว่าผู้เช่าจะต้องรับผิดซ่อมแซมทรัพย์ที่เช่าในทุกๆ กรณีไม่
การซ่อมแซมใหญ่ซึ่งเป็นเรื่องความจำเป็นและสมควรเพื่อรักษาทรัพย์สินที่เช่าให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ เป็นหน้าที่ของจำเลยผู้ให้เช่าตามมาตรา 547 หาใช่เป็นการบำรุงรักษาตามปกติและเพื่อซ่อมแซมเล็กน้อยอันจะตกอยู่ในความรับผิดของโจทก์ผู้เช่าไม่ ดังนั้น จำเลยในฐานะผู้ให้เช่าจึงเป็นฝ่ายต้องรับผิดในการซ่อมแซมดังกล่าวตามมาตรา 550
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 537, ม. 547, ม. 550, ม. 553


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1082/2545
แม้โจทก์ทำสัญญาเช่าสิทธิขายอาหารและสิ่งพิมพ์ประจำสถานีรถไฟนครราชสีมากับจำเลยที่ 1 มีกำหนด 5 ปี แต่ในสัญญาดังกล่าวมีข้อตกลงว่าโจทก์ต้องรักษาที่เช่าให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยต้องไม่ปลูกสร้างต่อเติมส่วนใดส่วนหนึ่งต้องให้พนักงานของจำเลยที่ 1 ตรวจที่เช่าได้ทุกเมื่อ และต้องไม่ให้ผู้อื่นเช่าช่วงนั้นเป็นข้อสัญญาที่มิได้ให้สิทธิโจทก์ขายอาหารและสิ่งพิมพ์ในบริเวณสถานีรถไฟแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังให้สิทธิโจทก์ได้ใช้ประโยชน์ในลักษณะเป็นผู้ครอบครอง ส่วนที่เป็นบริเวณร้านขายอาหารและเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์ซึ่งอยู่ในบริเวณสถานีรถไฟอีกด้วย ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 4 เช่าทรัพย์ดังนั้น ในระหว่างอายุสัญญาเช่าจำเลยที่ 1 จะเข้าปรับปรุงอาคารสถานีรถไฟดังกล่าวในส่วนที่เป็นร้านขายอาหารและเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์อันเป็นสถานที่เช่าโดยปราศจากความยินยอมของโจทก์มิได้ แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ให้ฝ่ายช่างโยธามาทุบร้านอาหารและเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์ โจทก์ก็มิได้โต้แย้งหรือห้ามปราม ฉะนั้น การที่โจทก์มาร้องขอลดค่าเช่ากับจำเลยที่ 1 อ้างว่าไม่สามารถทำการค้าได้ตามปกติหลังจากจำเลยที่ 1 เข้าปรับปรุงอาคารแล้วถึง 1 เดือนเศษ จึงเป็นพฤติการณ์มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าโจทก์ยินยอมอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ทุบร้านอาหารและเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์ จำเลยที่ 1 จึงไม่ผิดสัญญาในส่วนนี้ แต่เมื่อการปรับปรุงอาคารเสร็จแล้วเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์ถูกดัดแปลงกลายสภาพเป็นห้องประชาสัมพันธ์และจำเลยที่ 1 เข้าครอบครองใช้ประโยชน์สืบมาอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจครอบครองใช้ประโยชน์ในสถานที่เช่าตามสัญญาได้ต่อไป จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานจำเลยที่ 1 กระทำการในฐานะเป็นตัวแทนเพื่อประโยชน์ในกิจการของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เป็นการส่วนตัว
ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในส่วนที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 คืนมัดจำให้แก่โจทก์เมื่อสัญญาเช่าสิทธิสิ้นสุดลงและได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในส่วนนี้ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ ปัญหาดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่โจทก์ฎีกาปัญหานี้มาจึงเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 537, ม. 550, ม. 820
ป.วิ.พ. ม. 183, ม. 249
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท