Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 235 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 235 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 235” คืออะไร? 


“มาตรา 235” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 235 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้เรียกเงินเต็มจำนวนที่ยังค้างชำระแก่ลูกหนี้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนที่ค้างชำระแก่ตนก็ได้ ถ้าจำเลยยอมใช้เงินเพียงเท่าจำนวนที่ลูกหนี้เดิมค้างชำระแก่เจ้าหนี้นั้น คดีก็เป็นเสร็จกันไป แต่ถ้าลูกหนี้เดิมได้เข้าชื่อเป็นโจทก์ด้วย ลูกหนี้เดิมจะขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาต่อไปในส่วนจำนวนเงินที่ยังเหลือติดค้างอยู่ก็ได้
              แต่อย่างไรก็ดี ท่านมิให้เจ้าหนี้ได้รับมากไปกว่าจำนวนที่ค้างชำระแก่ตนนั้นเลย “

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 235” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 235 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2138/2561
ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ.2544 ข้อ 15 วรรคสอง ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน ให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานพร้อมทั้งสำเนาก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เมื่อจำเลยที่ 6 ได้ยื่นบัญชีระบุพยานแล้วเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2558 โดยระบุหนังสือรับรองการหักเงินรายได้เพื่อชำระหนี้ค่าหุ้นที่ออกโดยจำเลยที่ 1 เป็นพยานเอกสาร และยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน การยื่นบัญชีระบุพยานจึงชอบแล้ว
ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 16 ให้คู่ความยื่นต้นฉบับพยานเอกสารทั้งหมดที่ประสงค์จะอ้างอิงและอยู่ในความครอบครองของตน...พร้อมกับการยื่นบัญชีระบุพยาน โดยคู่ความไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารต่อศาลและคู่ความฝ่ายอื่น และวรรคสองกำหนดว่า คู่ความฝ่ายใดมิได้ยื่นเอกสารต่อศาลตามความในวรรคหนึ่ง คู่ความฝ่ายนั้นไม่มีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานนั้นมาสืบภายหลัง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล เมื่อคู่ความดังกล่าวสามารถแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลถึงเหตุที่ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดได้เพราะเหตุสุดวิสัยหรือเมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานดังกล่าวมาสืบ แม้จำเลยที่ 6 ได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้แล้ว แต่จำเลยที่ 6 มิได้ยื่นต้นฉบับเอกสารที่ประสงค์จะอ้างอิงและอยู่ในความครอบครองของตนต่อศาลพร้อมกับการยื่นบัญชีระบุพยาน และจำเลยที่ 6 มิได้แสดงถึงเหตุที่ไม่สามารถปฏิบัติได้เพราะมีเหตุสุดวิสัย ทั้งไม่ได้รับอนุญาตจากศาลภาษีอากรกลางให้นำสืบเอกสารดังกล่าวได้ จำเลยที่ 6 จึงไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานนั้นเข้าสืบ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 233, ม. 235
ป.วิ.พ. ม. 88
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ม. 17, ม. 20
ข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ.2544 ข้อ 15, 16


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6095/2560
มูลหนี้ตามคำฟ้องที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้เป็นมูลหนี้ค่าเบี้ยปรับในหนี้ภาษีอากร ซึ่งตามประมวลรัษฎากร ไม่มีบทบัญญัติให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากเบี้ยปรับดังกล่าวได้ แม้ว่าการฟ้องคดีของโจทก์จะเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ร่วมในนามตนเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 233 แต่การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ก็ห้ามมิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้มากไปกว่าจำนวนที่ค้างชำระ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 235 วรรคสอง ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเบี้ยปรับ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 233, ม. 235 วรรคสอง


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2560
การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า คดีในส่วนจำเลยที่ 2 มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 7 (2) เป็นกรณีที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยในปัญหาว่า คดีในส่วนจำเลยที่ 2 อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากรกลางหรือศาลยุติธรรมอื่น ซึ่งตามมาตรา 10 วรรคสอง (เดิม) กำหนดให้ประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้วินิจฉัย ศาลภาษีอากรกลางหามีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ประกอบกับคู่ความไม่ได้โต้แย้งเรื่องเขตอำนาจศาลไว้ จึงไม่มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในเรื่องเขตอำนาจศาล ที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และพิพากษายกฟ้องมานั้น จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าพนักงานของโจทก์มีหนังสือไปยังกรรมการจำเลยที่ 1 เพื่อให้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบมาชำระแก่จำเลยที่ 1 ให้ครบถ้วน ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เพิกเฉยไม่ดำเนินการตามสิทธิเรียกร้องของตนเป็นเหตุให้โจทก์เสียประโยชน์ หนี้ค่าภาษีอากรที่โจทก์มีต่อจำเลยที่ 1 เป็นหนี้มีบุริมสิทธิ กรณีต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 233 และมาตรา 235 โจทก์ชอบจะใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ต่อจำเลยที่ 2 ได้ แต่การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 อันมีต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งยังส่งใช้เงินค่าหุ้นไม่ครบถ้วนพร้อมดอกเบี้ย แม้โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องได้ในนามของตนเองตามมาตรา 233 ก็เป็นการใช้สิทธิแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ส่งใช้เงินค่าหุ้นที่ยังไม่ครบพร้อมดอกเบี้ย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 233, ม. 235, ม. 1119, ม. 1120, ม. 1121
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ม. 7 (2), ม. 10 วรรคสอง (เดิม)
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท