Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1353 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1353 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1353” คืออะไร? 


“มาตรา 1353” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1353 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บุคคลอาจพาปศุสัตว์ของตนผ่านหรือเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นซึ่งมิได้กั้นเพื่อไปเลี้ยง และอาจเข้าไปเอาน้ำในบ่อหรือสระในที่เช่นว่านั้นมาใช้ได้ เว้นแต่ที่ดินเป็นที่เพาะปลูก หรือเตรียมเพื่อเพาะปลูก หว่านหรือมีธัญชาติขึ้นอยู่แล้ว แต่ท่านว่าเจ้าของที่ดินย่อมห้ามได้เสมอ “


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1353” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1353 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2531
โจทก์ทั้งสามและจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินแปลงพิพาทซึ่งยังไม่ได้ตกลงแบ่งกันเป็นส่วนสัดว่าที่ดินส่วนไหนเป็นของใคร การที่จำเลยเข้าไปปลูกบ้านในที่ดินแปลงพิพาทแต่ผู้เดียวแม้จะได้กั้นรั้วในที่ดินพิพาทแยกครอบครองเป็นส่วนสัด ก็ต้องถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินนั้นแทนเจ้าของรวมคนอื่น หาใช่ครอบครองโดยปรปักษ์ไม่ การแบ่งทรัพย์สินกรรมสิทธิ์รวมเป็นอำนาจของศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 จะแบ่งส่วนใดให้เป็นของเจ้าของรวมคนใดโดยไม่ให้ขายทอดตลาดก็ได้ จำเลยปลูกบ้านอยู่อาศัยทางด้านทิศใต้ของที่ดินแปลงพิพาทซึ่งอยู่ติดทางสาธารณประโยชน์มาประมาณ 20 ปีแล้ว หากจะให้เอาที่ดินแปลงพิพาทประมูลหรือขายทอดตลาดแล้วเอาเงินแบ่งโจทก์จำเลยตามส่วนจำเลยก็อาจต้องรื้อบ้านออกไปเป็นการเดือดร้อน ศาลย่อมให้จำเลยได้ส่วนแบ่งในที่ดินพิพาททางด้านทิศใต้โดยให้ที่ดินที่โจทก์ทั้งสามจะได้รับส่วนแบ่งมีทางออกสู่ทางสาธารณประโยชน์ได้ด้วย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1353, ม. 1360, ม. 1364, ม. 1382

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2506
ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่า เหตุใดทางพิพาทจึงเป็นทางสาธารณะและสภาพของทางตามที่ได้ความในทางพิจารณาก็ไม่พอให้ฟังว่าเป็นทางที่มีขึ้น ทำขึ้นสำหรับประชาชนใช้ในการจราจรตามกฎหมายโจทก์ก็จะขอให้บังคับให้เจ้าของที่ดินที่ทางพิพาทผ่านไปนั้นเปิดทางให้ใช้เป็นทางสาธารณะต่อไปหาได้ไม่
การที่มีพยานเบิกความว่า คนในตำบลหนึ่งกับอีกตำบลหนึ่งจะไปมาก็ต้องผ่านทางพิพาท การที่ต้องผ่านทางนี้ก็ไม่ทำให้ทางพิพาทเป็นทางที่มีขึ้นทำขึ้นสำหรับประชาชนใช้ในการจราจรตามกฎหมาย
ที่ดินซึ่งทางพิพาทผ่านเข้าไปนั้นเจ้าของไม่ได้กั้นไม่มีคันเขตรั้ว บุคคลก็อาจพาปศุสัตว์ผ่านหรือเข้าไปได้อยู่แล้ว หรือแม้จะมีคันเขตรั้ว การผ่านหรือเข้าไปเช่นนี้ก็ไม่ทำให้ทางพิพาทเป็นทางที่มีขึ้น ทำขึ้นสำหรับประชาชนใช้ในการจราจรตามกฎหมาย
ตามคำฟ้องแสดงว่าโจทก์ขอให้บังคับจำเลยเปิดทางสาธารณะเมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ ศาลก็บังคับจำเลยให้เปิดทางพิพาทเป็นทางสาธารณะไม่ได้ ศาลจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยต่อไปว่าโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทมา15 ปีแล้ว โดยไม่มีใครห้ามจำเลยจริงดังที่กล่าวอ้างหรือไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1304, ม. 1353
ป.วิ.พ. ม. 172
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1098/2506
การผ่านหรือเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1353 แม้จะเป็นการใช้สิทธิในทรัพย์ของผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าของซึ่งผ่านหรือเข้าไปพ้นจากการเป็นผู้ทำละเมิด แต่เจ้าของที่ดินห้ามได้เสมอ เมื่อห้ามแล้วยังฝ่าฝืนก็ต้องตกเป็นผู้ละเมิด ถ้าไม่ห้ามและการผ่านหรือเข้าไปในที่ดินดังกล่าวโดยอาศัยอำนาจของตนเอง ถ้าเป็นเวลา 10 ปีหรือกว่า 10 ปีขึ้นไปที่ดินนั้นก็ต้องตกอยู่ในภาระจำยอม
ฤดูแล้งคนทั่วไป วัวควาย ล้อเลื่อน ใช้ทางพิพาทกว้าง 4 ศอกฤดูทำนาเฉพาะคนอย่างเดียวเท่านั้นใช้ทางพิพาทกว้าง 1 ศอก โดยไม่ต้องขออนุญาตใคร เป็นเวลา 10 ปี หรือเกิน 10 ปีขึ้นไป ทางพิพาทย่อมตกเป็นภาระจำยอมในฤดูทำนากว้าง 1 ศอก ฤดูนอกนั้นกว้าง 4 ศอกโจทก์เพิ่งได้เอากระบือไปทำนาและพากลับบ้านด้วย โดยผ่านทางพิพาทเป็นเวลา 2 ปี ไม่ทำให้ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมเกินกว่า 1 ศอกเพื่อให้กระบือผ่านในฤดูทำนาด้วย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1353, ม. 1387, ม. 1401
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท