Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 112 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 112” คืออะไร? 


“มาตรา 112” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 112 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ข้อบังคับของมูลนิธิอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้
              (๑) ชื่อมูลนิธิ
              (๒) วัตถุประสงค์ของมูลนิธิ
              (๓) ที่ตั้งสำนักงานใหญ่และที่ตั้งสำนักงานสาขาทั้งปวง
              (๔) ทรัพย์สินของมูลนิธิขณะจัดตั้ง
              (๕) ข้อกำหนดเกี่ยวกับคณะกรรมการของมูลนิธิ ได้แก่ จำนวนกรรมการ การตั้งกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการ การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการ และการประชุมของคณะกรรมการ
              (๖) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการมูลนิธิ การจัดการทรัพย์สินและบัญชีของมูลนิธิ  “

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 112” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 112 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2538
การสละมรดก โดยแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 นั้น ตามกฎกระทรวงมหาดไทยที่ออกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1672 ข้อ 14, 15 ประกอบ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 40 กำหนดว่า "พนักงานเจ้าหน้าที่"ดังกล่าว หมายถึงนายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขต ดังนั้น การที่โจทก์กับ ศ.ทำหนังสือสละมรดกมอบไว้แก่เจ้าพนักงานที่ดิน จึงไม่ใช่หนังสือสละมรดกตามกฎหมาย
ขณะ ล.เจ้ามรดกทำพินัยกรรทม ล.มีอาการป่วยหนักมีความคิดสับสน ไม่สามารถแสดงเจตนาทำพินัยกรรมได้ พินัยกรรมดังกล่าวจึงมิได้เกิดจากการแสดงเจตนาของ ล. และเป็นพินัยกรรมปลอม โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนในทรัพย์มรดกจึงฟ้องขอเพิกถอนการจดทะเบียนรับมรดกของจำเลยได้
คดีมีทุนทรัพย์ 2,700,000 บาท เมื่อพิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดี ประกอบกับเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนี้แล้ว ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความจำนวน 15,000 บาท จึงชอบด้วยตาราง 6ท้าย ป.วิ.พ.
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระต่อศาลในนามของโจทก์ซึ่งค่าขึ้นศาลที่โจทก์ผู้ฟ้องอย่างคนอนาถาได้รับยกเว้นนั้น เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 158 จึงเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย

ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 112 (เดิม), ม. 1608 (1), ม. 1612, ม. 1646, ม. 1654 วรรคแรก, ม. 1672
ป.วิ.พ. ม. 158, ตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 ม. 40


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3010/2535
ในการเล่นแชร์ลูกวงแชร์ต่างเชื่อถือนายวงแชร์เป็นสำคัญนายวงแชร์มีหน้าที่ต่อลูกวงแชร์ในการรวบรวมเงินจากลูกวงแชร์แต่ละคนทั้งที่ประมูลแล้วและยังมิได้ประมูลส่งแก่ลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ในงวดนั้น ส่วนลูกวงแชร์ก็มีหน้าที่ต้องส่งเงินค่าแชร์ในแต่ละงวดให้แก่นายวงแชร์เพื่อรวบรวมมอบให้แก่ลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ นายวงแชร์จึงมีนิติสัมพันธ์อยู่กับลูกวงแชร์แต่ละคนดังนั้น จำเลยซึ่งเป็นลูกวงแชร์จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าแชร์ในแต่ละงวดให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นนายวงแชร์ หากจำเลยผิดนัดโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าแชร์ในงวดนั้นได้โดยตรง หาจำต้องอาศัยสิทธิหรือรับช่วงสิทธิของลูกวงแชร์ที่ประมูลได้แต่อย่างใดไม่การที่โจทก์ชำระค่าแชร์แทนจำเลยไปบางงวดก็เพื่อป้องกันมิให้ถูกลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ฟ้องร้องเท่านั้น หาใช่เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ต้องชำระแทนจำเลยไปก่อนแล้วจึงจะเกิดสิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยในภายหลังไม่ เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าแชร์จำนวน 10 งวด เป็นเงิน 50,000 บาท โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยเรียกเงินโดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ชำระค่าแชร์แทนจำเลยไปแล้วเพียงใด.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 112, ม. 227


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2252/2535
เงื่อนไขในการประกวดราคาสัญญาก่อสร้างอาคารระบุว่าเมื่อโจทก์ตกลงเลือกผู้เข้าประกวดราคารายใดให้เป็นผู้รับจ้างและนัดให้ไปทำสัญญาแล้ว ผู้ถูกเลือกจะต้องไปทำสัญญาภายในกำหนดหากผู้ถูกเลือกไม่ยอมรับทำสัญญาโจทก์จะริบเงินมัดจำซองประกวดราคาและหากปรากฏว่าโจทก์ต้องจ้างผู้อื่นก่อสร้างแทนแพงกว่าราคาที่เสนอไว้รวมกับเงินประกันที่ยึดไว้แล้ว ผู้เสนอราคายินยอมที่จะชดใช้ราคาในส่วนที่เกินนั้นด้วยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ที่โจทก์ตกลงเลือกเป็นผู้เข้าประกวดราคาได้ไม่ยอมไปทำสัญญาก่อสร้างกับโจทก์ตามที่ยื่นซองประกวดราคาได้ ทำให้โจทก์ต้องจ้าง ช. ก่อสร้างอาคารของโจทก์ในราคาสูงกว่าราคาที่จำเลยที่ 1 ประมูลได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายในราคาที่สูงขึ้นนั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่ากำหนดเวลาให้ใช้ดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฎีกาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยตั้งแต่ก่อนวันฟ้องกรณีก็ถือว่าโจทก์ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งในปัญหาเรื่องดอกเบี้ยแล้ว ก่อนฟ้องคดีโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ที่ค้ำประกันจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 3 ไม่ได้โต้แย้งโจทก์เรื่องที่โจทก์ไม่แจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบภายในระยะเวลาค้ำประกันถึงกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาประกวดราคาแต่จำเลยที่ 3 ก็ยังมีสิทธิยกข้อต่อสู้ดังกล่าวเพื่อปฏิเสธความรับผิดของตนในชั้นให้การได้ ปัญหาที่โจทก์ฎีกา โจทก์มิได้ยกขึ้นโต้แย้งในอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นข้อมิได้ว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยปัญหานี้ให้ไม่ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 112, ม. 368
ป.วิ.พ. ม. 142, ม. 172, ม. 249
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท