Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1005 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1005 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1005” คืออะไร? 


“มาตรา 1005” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1005 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าตั๋วเงินได้ทำขึ้นหรือได้โอนหรือสลักหลังไปแล้วในมูลหนี้อันหนึ่งอันใด และสิทธิตามตั๋วเงินนั้นมาสูญสิ้นไปเพราะอายุความก็ดี หรือเพราะละเว้นไม่ดำเนินการให้ต้องตามวิธีใด ๆ อันจะพึงต้องทำก็ดี ท่านว่าหนี้เดิมนั้นก็ยังคงมีอยู่ตามหลักกฎหมายอันแพร่หลายทั่วไป เท่าที่ลูกหนี้มิได้ต้องเสียหายแต่การนั้น เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น “

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1005” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1005 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1244/2522
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์ต่อตัวถังรถยนต์ราคา 50,000 บาท จำเลยมอบเงินให้โจทก์ไปแล้ว 15,000 บาทที่เหลือ 35,000 บาท จำเลยชำระเป็นเช็ค แต่เช็คขึ้นเงินไม่ได้ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินค่าต่อตัวถังรถยนต์ที่ค้างชำระ ดังนี้ เป็นการฟ้องตามมูลสัญญาจ้างทำของกรณีต้องบังคับในเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165
โจทก์ฟ้องเรียกหนี้ตามมูลสัญญาจ้างทำของโจทก์จึงมีอำนาจขออนุญาตฟ้องที่ศาลซึ่งมูลคดีเกิดขึ้นในเขตได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 165 (1), ม. 1002, ม. 1005
ป.วิ.พ. ม. 4 (2)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2516
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยใช้เงินที่ยังค้างชำระตามเช็คพร้อมกับแนบรูปถ่ายเช็คมาท้ายฟ้อง โดยกล่าวอ้างในฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินให้แก่โจทก์มิได้กล่าวถึงจำเลยที่ 2 ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใดกับเช็คด้วย ฟ้องของโจทก์จึงแสดงให้เห็นอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 2 มิได้มีลายมือชื่อในเช็ค ทั้งรูปถ่ายเช็คท้ายฟ้องก็ไม่มีลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ฉะนั้น การที่ศาลวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 มิได้ลงลายมือในเช็คไม่ว่าในฐานะผู้สั่งจ่ายหรือฐานะอื่นใด อันเป็นการแสดงว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเช็คนั้น จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นเพราะเป็นการกล่าวถึงข้อเท็จจริงตามที่ได้ความจากคำฟ้องของโจทก์เอง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากัน ได้ก่อหนี้ร่วมกันโดยจำเลยที่ 1 ออกเช็คแลกเงินสดจากโจทก์ ดังนี้ เช็คหาใช่หลักฐานแห่งหนี้หรือแสดงว่าจำเลยเป็นหนี้ไม่ แต่เป็นการสั่งธนาคารให้ใช้เงิน กรณีนี้ต้องถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยใช้เช็คแทนเงิน เกิดความผูกพันระหว่างกันในลักษณะตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 ซึ่งบุคคลที่ลงลายมือชื่อในเช็คเท่านั้นที่จะต้องรับผิดตามข้อความในเช็ค แม้โจทก์จะอ้างว่า ฟ้องเรียกเงินตามมูลหนี้เดิมก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามฟ้อง เพราะจำเลยที่ 2 มิได้มีลายมือชื่อในเช็คหากจะถือว่ามูลหนี้เดิมเป็นหนี้กู้ยืมเงิน โจทก์ก็ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยที่ 2 มาแสดง โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับจำเลยที่ 2 หาได้ไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 321, ม. 653, ม. 900, ม. 1005, ม. 1482
ป.วิ.พ. ม. 172, ม. 183


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2501
ผู้ทรงตั๋วแลกเงินไปยอมผ่อนเวลาการจ่ายเงินให้แก่ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยมิได้ตกลงกับผู้สั่งจ่ายเสียก่อน ผู้ทรงตั๋วนั้นย่อมสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ย และผู้สั่งจ่ายก็พ้นจากความรับผิดอย่างใดๆ ตามกฎหมายต่อผู้ทรง
ในกรณีดังกล่าวข้างต้น ถ้าผู้สั่งจ่ายยอมทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่ผู้ทรง ก็ย่อมถือได้ว่าเป็นการสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเพราะขณะนั้นไม่มีหนี้อะไรเหลืออยู่แล้วแม้หนี้เดิมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1005 ก็ไม่ต้องรับผิด หนังสือรับสภาพหนี้นั้นจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 948, ม. 1005, ม. 119
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท